วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทย


สาระสำคัญโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 
เรื่อง “การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทย” แก่ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย
วันพุธที่ 7  พฤษภาคม  2557    
  ห้อง 5 – 105   คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา


             ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา  ธัญญพาณิชย์ บรรยาย เรื่อง “การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ” โดยกล่าวถึงความสำคัญและจุดมุ่งหมายของการอ่าน โดยเน้นที่ระดับความเข้าใจของการอ่าน 5 ระดับ ดังนี้
             1.  อ่านแล้วรู้  คือ รู้ว่า ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร 
             2.  อ่านแล้วเข้าใจ  คือ เข้าใจว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไร  มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
             3.  อ่านแล้ววิเคราะห์ได้  คือ วิเคราะห์ได้ว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริง  อะไรเป็นความคิดเห็น
             4.  อ่านแล้วสังเคราะห์ได้  คือ นำผลการวิเคราะห์มาเรียบเรียงใหม่ได้
             5.  อ่านแล้วประเมินค่าได้  คือ สามารถบอกได้ว่าเรื่องดีหรือไม่ดีอย่างไร  มีคุณค่าอย่างไร
             การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะการอ่านขั้นสูง  เรียกว่า “อ่านเป็น” ซึ่งการอ่านขั้นนี้ ผู้อ่านต้องใช้สติปัญญาในการใคร่ครวญสิ่งที่อ่านอย่างพินิจพิจารณา เพื่อตัดสินประเมินค่าสิ่งที่อ่านได้ถูกต้อง เที่ยงธรรม

ขั้นการฝึกปฏิบัติ
             ขั้นที่ 1  ฝึกปฏิบัติอ่าน 5 ระดับ
             ผู้เข้าอบรมฝึกอ่านพร้อมกัน เพื่อประเมินความสามารถในการอ่าน จากแบบฝึก 2 เรื่อง คือ เรื่อง                    “ของสูง” และเรื่อง “การไม่กระทำ”
             การฝึกปฏิบัติขั้นแรกนี้ วิทยากรได้ช่วยชี้แนะแนวทางในการทำความเข้าใจและอธิบายเพิ่มเติมจนผู้เข้าอบรมสามารถสรุปสาระสำคัญของเรื่องได้  ดังนี้
             เรื่องของสูง  “ความอ่อนโยน ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีชัยเหนือความกระด้าง”
             เรื่องการไม่กระทำ  “เน้นการสอนโดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่าง คือ ปฏิบัติให้ดู อยู่ให้เห็น และการรู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น”
             ขั้นที่ 2  ฝึกปฏิบัติอ่าน 5 ระดับเป็นรายบุคคล
             กำหนดแบบฝึกอ่าน 3 เรื่อง  คือ
             1.  เรื่อง “ปรัชญากับศาสนา”
             2.  เรื่อง “กระชอน 3 อัน”
             3.  เรื่อง “การประทุ”
             ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติอ่านและเขียนส่งคณะวิทยากร คือ อาจารย์เอื้อนจิตร  สัมมา  อาจารย์วิภาพรรณ  นำอุทิศ และอาจารย์นิดาริน  จุลวรรณ  หลังจากตรวจงานคืนโดยให้ค่าคะแนนเป็นเกรด A, B, C, D แล้ว คณะวิทยากรได้แจกแบบเฉลยการอ่าน 5 ระดับของเรื่องดังกล่าวให้ผู้อ่านพิจารณาตรวจสอบเป็นแบบอย่าง
             สาระสำคัญ เรื่อง ปรัชญากับศาสนา  “ผลสำเร็จของงานเกิดจากการปฏิบัติ มิใช่เกิดจากการคิดเพียงอย่างเดียว”
             สาระสำคัญ เรื่อง กระชอน 3 อัน  “ก่อนเล่าหรือพูดเรื่องใดต้องคิดไตร่ตรองก่อนว่าเป็นความจริงหรือไม่  เป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ และเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเล่าหรือไม่”
             สาระสำคัญ เรื่อง การประทุ  “มนุษย์พึงระวังรักษาจิตใจให้สงบ  ไม่เบียดเบียนหรือก้าวก่ายต่อสรรพสิ่ง  อย่าให้อารมณ์ประทุขึ้นด้วยความยินดี – ยินร้าย”
             ขั้นที่ 3  ฝึกปฏิบัติอ่านเป็นกลุ่ม
             วิทยากรแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน  กำหนดให้อ่านแบบฝึกและเขียนนำเสนอ จำนวน 5 เรื่อง ให้เขียนนำเสนอและให้ตัวแทนกลุ่มเป็นผู้กล่าวนำและให้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มและคณะวิทยากร
             สาระสำคัญ
             1.  เรื่อง ทำแล้วได้  “ให้คนพึ่งตนเอง ต้องลงมือทำแล้วจึงได้รับ”
             2.  เรื่อง ทำพร้อมกัน  “การทำหน้าที่ตามบทบาทด้วยความรับผิดชอบ จะส่งผลดีทั้งต่อตนเองและผู้อื่น”
             3.  เรื่อง ความรังเกียจ  “การมองสิ่งทั้งหลายในแง่ลบ ย่อมส่งผลให้เจ้าตัวได้รับความเดือดร้อน  บุคคลจึงไม่พึงเพ่งโทษผู้อื่น”
             4.  เรื่อง ลูกศิษย์ปิศาจ  “ไม่ควรรีรอหรือผัดวันประกันพรุ่งในการทำความดี”
             5.  เรื่อง บันทึกของพ่อบ้าน  “สมาชิกในบ้านควรตระหนักถึงคุณค่าของแม่บ้าน (ภรรยา, แม่)  ต้องทำงานหนักเพ่อความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกในครอบครัว  ดังนั้นสมาชิกทุกคนในบ้านจึงควรต้องช่วยกันดูแลบ้าน และช่วยกันทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระของแม่บ้านไม่ให้เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหนักจนเกินไป”
             หลังจากอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว วิทยากรได้แจกตัวอย่างการอ่าน 5 ระดับของแบบฝึกทั้ง 5 เรื่อง
             ขั้นตอนสุดท้าย  คณะวิทยากรร่วมเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูผู้อบรม เรื่อง  การอภิปรายผลการพัฒนาการอ่านและการเขียนสู่การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย  ครูผู้อบรมกล่าวถึงผลที่ได้รับเพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเองและพัฒนาการเรียนการสอน  ดังนี้
             1.  ขั้นตอนการฝึกอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5 ขั้น  ทำให้ครูเข้าใจนิยามของคำว่า “วิเคราะห์” และ “สังเคราะห์”  มากยิ่งขึ้น
             2.  การพัฒนาการอ่านและการเขียนภาษาไทยในครั้งนี้  ทำให้ครูมีความสามารถในการอ่านตีความ  อ่านวิเคราะห์ อ่านสังเคราะห์ และอ่านประเมินค่ามากยิ่งขึ้น 
             3.  ความรู้และความสามารถที่ครูได้รับในครั้งนี้  นำไปสู่การฝึกทักษะการอ่านขั้นสูงให้แก่นักเรียน ทั้งใน    ชั้นเรียนและการเตรียมความพร้อมการทดสอบระดับชาติ  เช่น NT  O-net เป็นต้น
             4.  ครูได้เทคนิคการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการเขียนนำเสนอสาร โดยการรู้จักรอคอย/ ให้เวลา เมื่อให้นักเรียนอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
             5.  การพัฒนาตนเองในครั้งต่อไปจะต้องพัฒนาในเรื่องรูปแบบและการใช้ภาษาเขียนที่ตรงความหมายและสละสลวย
ข้อมูลแบบฝึกอ่าน


สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์



ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

การสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่การสอนเพื่อให้ได้เห็นกระบวนการที่เป็นที่มาของคำตอบยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับครูผู้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน อันได้แก่การบวก การลบ การคูณและการหารซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ทุกสาระในระดับประถมศึกษา  สำหรับเรื่องที่ค่อนข้างยากและมีปัญหาในการเรียนการสอนมีดังนี้

เรื่องเศษส่วน
1. นักเรียนมักสับสนว่าจะเปรียบเทียบเศษส่วนสองจำนวนว่าจำนวนใดมากกว่ากันได้อย่างไร เช่น
ไม่สามารถบอกได้ว่า 3/4 กับ 4/5 จำนวนใดมากกว่า
2. นักเรียนมักสับสนการเขียนเศษส่วนในกรณีที่เป็นเศษเกิน เช่น สับสนว่ารูปที่แทน 10/4 นั้นแทน10/12
















3. นักเรียนขาดความตระหนักในการพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
เรื่องการบวกและลบเศษส่วน
1. นักเรียนไม่เข้าใจความหมายของการบวก และการลบเศษส่วน จึงอาจนำ ตัวเศษบวกตัวเศษ และตัวส่วน
    บวกตัวส่วน หรือนำตัวเศษลบตัวเศษและตัวส่วนลบตัวส่วน
2. นักเรียนไม่เข้าใจการแปลงเศษส่วนให้อยู่ในรูปเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
3. นักเรียนไม่เข้าใจการบวก ลบ เศษส่วน ซึ่งมีจำนวนบางจำนวนเป็นจำนวนคละ
4. นักเรียนไม่สามารถแสดง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนได้ และไม่ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของ
   คำตอบที่ได้
เรื่องทศนิยม และการบวก การลบทศนิยม
1. จากภาพต่อไปนี้ อาจมีความเข้าใจผิดว่า ส่วนที่แรเงาแสดง 0.2








หรือ











2. การเปรียบเทียบทศนิยมที่มีจำนวนตำแหน่งไม่เท่ากัน เช่น เปรียบเทียบ 0.4 กับ 0.20
    อาจมีความเข้าใจผิดว่า 0.4 น้อยกว่า 0.20 เพราะ 4 น้อยกว่า 20
3. การวัดความยาวที่มีหน่วยเป็นนิ้ว เช่น 1.5 นิ้ว หมายถึง 1 นิ้วครึ่ง ไม่ใช่ 1 นิ้วกับ 5 ช่อง
4. การใช้จุด “ . ” เกี่ยวกับเวลา เช่น 
              3.5 ชั่วโมง หมายถึง 3 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 3 ชั่วโมง 30 นาที
              3.50 . หมายถึง 3 นาฬิกา 50 นาที ไม่ใช่ 3 ชั่วโมงครึ่ง
5. นักเรียนมีปัญหากับการบวก ลบทศนิยมที่มีจำนวนตำแหน่งทศนิยมไม่เท่ากัน มักจะหาผลลัพธ์
    ไม่ถูกต้อง เช่น  0.12 + 0.7 =
                           นักเรียนมักจะหาผลบวกดังนี้

0.12
  0.7
0.19
หรือ
  0.7
0.12
0.19

          จากปัญหาข้างต้น  จึงทำให้เกิดโครงการบริการวิชาการค่ายคณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่ใช้แก้ปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยคณะผู้จัดได้เล็งเห็นว่าการสร้างสื่อการเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหมาะสำหรับการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ ควบคู่ไปกับวิธีการสอนที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์และการแก้ปัญหา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ตามเอกสารดังแนบ