วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์



ความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

การสอนคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่การสอนเพื่อให้ได้เห็นกระบวนการที่เป็นที่มาของคำตอบยังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับครูผู้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน อันได้แก่การบวก การลบ การคูณและการหารซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานวิชาคณิตศาสตร์ทุกสาระในระดับประถมศึกษา  สำหรับเรื่องที่ค่อนข้างยากและมีปัญหาในการเรียนการสอนมีดังนี้

เรื่องเศษส่วน
1. นักเรียนมักสับสนว่าจะเปรียบเทียบเศษส่วนสองจำนวนว่าจำนวนใดมากกว่ากันได้อย่างไร เช่น
ไม่สามารถบอกได้ว่า 3/4 กับ 4/5 จำนวนใดมากกว่า
2. นักเรียนมักสับสนการเขียนเศษส่วนในกรณีที่เป็นเศษเกิน เช่น สับสนว่ารูปที่แทน 10/4 นั้นแทน10/12
















3. นักเรียนขาดความตระหนักในการพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
เรื่องการบวกและลบเศษส่วน
1. นักเรียนไม่เข้าใจความหมายของการบวก และการลบเศษส่วน จึงอาจนำ ตัวเศษบวกตัวเศษ และตัวส่วน
    บวกตัวส่วน หรือนำตัวเศษลบตัวเศษและตัวส่วนลบตัวส่วน
2. นักเรียนไม่เข้าใจการแปลงเศษส่วนให้อยู่ในรูปเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน
3. นักเรียนไม่เข้าใจการบวก ลบ เศษส่วน ซึ่งมีจำนวนบางจำนวนเป็นจำนวนคละ
4. นักเรียนไม่สามารถแสดง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนได้ และไม่ตระหนักถึงความสมเหตุสมผลของ
   คำตอบที่ได้
เรื่องทศนิยม และการบวก การลบทศนิยม
1. จากภาพต่อไปนี้ อาจมีความเข้าใจผิดว่า ส่วนที่แรเงาแสดง 0.2








หรือ











2. การเปรียบเทียบทศนิยมที่มีจำนวนตำแหน่งไม่เท่ากัน เช่น เปรียบเทียบ 0.4 กับ 0.20
    อาจมีความเข้าใจผิดว่า 0.4 น้อยกว่า 0.20 เพราะ 4 น้อยกว่า 20
3. การวัดความยาวที่มีหน่วยเป็นนิ้ว เช่น 1.5 นิ้ว หมายถึง 1 นิ้วครึ่ง ไม่ใช่ 1 นิ้วกับ 5 ช่อง
4. การใช้จุด “ . ” เกี่ยวกับเวลา เช่น 
              3.5 ชั่วโมง หมายถึง 3 ชั่วโมงครึ่ง หรือ 3 ชั่วโมง 30 นาที
              3.50 . หมายถึง 3 นาฬิกา 50 นาที ไม่ใช่ 3 ชั่วโมงครึ่ง
5. นักเรียนมีปัญหากับการบวก ลบทศนิยมที่มีจำนวนตำแหน่งทศนิยมไม่เท่ากัน มักจะหาผลลัพธ์
    ไม่ถูกต้อง เช่น  0.12 + 0.7 =
                           นักเรียนมักจะหาผลบวกดังนี้

0.12
  0.7
0.19
หรือ
  0.7
0.12
0.19

          จากปัญหาข้างต้น  จึงทำให้เกิดโครงการบริการวิชาการค่ายคณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำสื่อการเรียนการสอนที่ใช้แก้ปัญหาความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการคิดคำนวณคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยคณะผู้จัดได้เล็งเห็นว่าการสร้างสื่อการเรียนรู้ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหมาะสำหรับการพัฒนาครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความคิดรวบยอด (Concept) ทางคณิตศาสตร์ ควบคู่ไปกับวิธีการสอนที่เน้นกระบวนการคิด วิเคราะห์และการแก้ปัญหา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  ตามเอกสารดังแนบ